วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 4

นางพัชรียา เสนีย์ 5246701010

ใบงานครั้งที่ 4

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

สืบค้นจาก www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สืบค้นจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

สืบค้นจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่ 1

งานชิ้นที่ 1
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านปากแพรก
หมู่ที่ 8 ตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัด นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง ผู้บริหารกับการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศในยุคของการเปลี่ยนแปลง
1. บุคคล/หน่วยงานที่รู้จักจัดการความรู้ มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพองค์กรจะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. ในการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กรใดก็ตามผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร และบริบทขององค์กรมาประมวลเป็นความรู้และจัดทำเป็นระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เช่น การนำผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน นำผลสรุปการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการจัดทำเอกสารแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า
3. สารสนเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ และนโยบายขององค์กร
4. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ทำให้มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรด้านการบริหารจัดการ
5. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นกลไกในการบริหารงานบุคคลที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ มีการพัฒนาและรักษาคุณภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่มีศักยภาพมีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ/หน้าที่การงานอย่างรวดเร็วตามสายงาน
6. สารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีระบบ และมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานหรือรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา ทันเหตุการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านปากแพรก จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ยุทธศาสตร์
1. คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. จัดการศึกษาให้เด็กในเขตบริการได้เข้าเรียนทุกคน
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
4. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้สถานศึกษา
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
บริบทของสถานศึกษา
1. ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านปากแพรก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลบางขัน อำเภอบาขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80360 โทรศัพท์ ( 075 ) 371058 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2. ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป
โรงเรียนบ้านปากแพรก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยความร่วมมือในการก่อสร้างของพระสมุห์คล้าย ภาสุโร เจ้าคณะตำบลกะปางและผู้นำท้องถิ่นโดยสร้างเป็นอาคารชั่วคราว ในที่ดินบริจาคจำนวน 4 ไร่ 2 งาน เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2481 เปิดสอนในชั้น ป.1 - ป.2 และเปิดสอนถึง ชั้น ป.3 - ป.4 ในปีต่อมา ด้านอาคารเรียนได้ปรับปรุงหลายครั้งแต่ยังเป็นอาคารเรียนชั่วคราว
ต่อมาปี 2514 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเป็นเงิน 105,000 บาท แบบ
ป.1 ก ขนาด 4 ห้องเรียน และคณะกรรมการโรงเรียนได้ลงมติให้มาสร้างในที่ดินสงวนหมู่บ้าน
( หมู่ที่ 4 )
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู เป็นเงิน 28,000 บาท พ.ศ. 2521 ได้รับเงินงบประมาณ 12,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง
24 พฤศจิกายน 2533 ได้รับเงินงบประมาณ 1,500 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง
1 สิงหาคม 2526 ได้รับอนุมัติเปิดสอนถึงชั้น ป.6
2 มกราคม 2527 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 201/26 เป็นเงิน 280,000 บาท
พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณ 55,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง และถังน้ำฝนแบบ ฝ. 301 ชุด
พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 102/2526 1 หลัง 3 ห้องเรียน และอนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณ 25,000 บาท สร้างเรือนเพาะชำ ปีการศึกษา 2538 ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 - ชั้น ป. 6 มีครูประจำการ 8 คน นักการภารโรง 1 คน มีนักเรียน 145 คน
11 กุมภาพันธ์ 2542 โรงเรียนได้รับอนุมัติปรับปรุงตำแหน่งของ นายลิขิต รอดเสน จากตำแหน่งครูใหญ่ เป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยระย้าและได้แต่งตั้ง นายประยุทธ์ รัตนคช รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
16 เมษายน 2544 นายปรีชา อนุพัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 38 และได้นายจินดา อักษรนำ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
17 มกราคม 2546 นางอุไร ยวงนาค ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหน้าเขา และได้นายจินดา อักษรนำ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
5 กรกฎาคม 2550 นายบุญทัน ปุณประวัติ ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน
3. สภาพปัจจุบันของโรงเรียนบ้านปากแพรก
โรงเรียนบ้านปากแพรก มีฐานะเป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
ลักษณะของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นชุมชนชนบท ตั้งอยู่ในตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 นับถือศาสนาอื่น ๆ ไม่มี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงสุกร และการเลี้ยงไก่
สภาพสังคม ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค คือ มีไฟฟ้า ถนนลาดยางสถานีอนามัย มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน เล็กน้อยไม่รุนแรง ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีการศึกษาต่อ ร้อยละ 94.44 ไม่ศึกษาต่อร้อยละ 5.56 ออกกลางคันมีอัตราสูงมากคือ ร้อยละ 11.11 ชุมชนและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการศึกษาปานกลาง
สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จะเป็นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ได้แก่ถ้ำ ภูเขา โรงเรียน มลพิษ จากควันพิษจากเสียงรถยนต์บ้าง เนื่องจากโรงเรียนอยู่ติดถนนใหญ่
ชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือการเลี้ยงกบ การเลี้ยงปลา การประดิษฐ์ของใช้จากไม้ไผ่ อาชีพในท้องถิ่น ได้แก่ การทำสวนยางพารา การปลูกกาแฟ การเลี้ยงสุกร และการเลี้ยงไก่

โครงสร้างของหน่วยงาน

แผนภูมิบริหารงานโรงเรียนบ้านปากแพรก
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากแพรก
นายบุญทัน ปุณประวัติ
บริหารงานทั่วไป
บริหารงานบุคคล
บริหารงบประมาณ
บริหารงานวิชาการ
บริการกิจการนักเรียน
นางศิริวรรณ
รัตนบุรี
นางสุดา ถีระแก้ว
นางพัชรียา เสนีย์
นางสาวมุกดา หนูสุวรรณ
นางยุพิน จันทร์โท
ธุรการ อัตรากำลัง/ตำแหน่ง นโยบายและแผน หลักสูตร ส่งเสริมคุณภาพ
ข้อมูลสารสนเทศ บรรจุ /แต่งตั้ง วิเคราะห์งบประมาณ สื่อนวัตกรรม การศึกษา
ประสานงาน บำเหน็จ/ทะเบียน ติดตามประเมินผล วัดผลประเมินผล กิจการนักเรียน
อาคารสถานที่ วินัย/นิติกร การเงินบัญชี นิเทศการศึกษา ระบบดูแล ช่วยเหลือ
และสิ่งแวดล้อม พัฒนาบุคคล พัสดุและสินทรัพย์ ประกันคุณภาพภายใน นักเรียน
ชุมชนสัมพันธ์

สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
สภาพปัญหา
1. โรงเรียนมีห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน รวมถึงห้องพิเศษต่าง ๆ เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพยาบาล ห้องปฏิบัติการทางภาษา
2. ขาดแคลนครูในสาขาที่ต้องการ เช่น วิทยาศาสตร์ พละศึกษา
3. งบประมาณการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
4. ขาดแคลนสื่อ ICT ให้นักเรียนได้เรียนรู้
5. นักเรียนชั้น ป.4 – ป.5 หลายคนอ่านหนังสือและเขียนหนังสือไม่คล่อง
6. หนังสือห้องสมุดมีไม่เพียงพอกับนักเรียน
7. นักเรียนขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ
8. ครูไม่ได้เข้ารับการอบรม พัฒนาตนเอง เพื่อนำความรู้มาปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนให้ทันกับปัจจุบัน

สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. ของบประมาณสร้างอาคารเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เรียนอย่างมีความสุข
2. ต้องการครูให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างห้องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียน
4. จัดสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
5. ผู้บริหารต้องสนับสนุน ส่งเสริมครู เข้ารับการรับอบรม หรือพัฒนาตนเองในเรื่องที่ตนเองสนใจ หรือในกลุ่มสาระที่ทำการสอนอยู่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
6. จัดหาหนังสือ สื่อที่มีประโยชน์ให้กับนักเรียน เพื่อนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด


ผู้ให้ข้อมูล นางพัชรียา เสนีย์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านปากแพรก
ณ วันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน 2552

Search Engine

Search Engine


1. แบบอาศัยการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก Crawler Based Search Engines หมายความว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ต้องทำการเข้าไปจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของ ข้อความ รูปภาพ Link หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนเว็บเพจต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตจากนั่นก็จะนำข้อมูลมาเก็บไว้ในเซฟเวอร์ Server ของตนเอง สร้างซอฟแวร์ที่จะเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลและแสดงผลเมื่อเวลามีผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้งาน Search Engine ประเภทนี้ได้รับความนิยมใช้งานจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยสิ่งที่ส่งเข้าไปเก็บข้อมูลถูกเรียกว่า Search Engine Robots หรืออาจเรียกว่า Search Engine Spider สองคำนี้ทางเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลก็จะทำการตั้งชื่อเล่นเพื่อให้งานต่อการ เรียก คือ Googlebot(www.google.com) Slurp (www.yahoo.com) และ MSNbot (www.msn.com) 2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory) เว็บให้ความหมายนี้ก็คือหน้าเว็บเพจ (เอกสารทั่วไปที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ในรูป.html และอื่นๆ)ส่วนคำว่า Directory คือการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้งาน ซึ่งก็คือคำว่า Floder (โฟลเดอร์ กล่องเก็บข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์วินโดว์) เว็บไดเรกทอรีจะอาศัยหลักการทำงานง่ายก็คือจะทำซอฟแวร์หรือชุดคำสั่งไว้ค่อย ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเพิ่มเว็บไซต์ของตนตามหมวดหมู่ที่เตรียมไว้ให้หรือ อาจจะการเพิ่มหมวดหมู่ก็ได้ ถ้ามีผู้คนมาทำการเพิ่มเว็บไซต์เยอะเว็บต้องกล่าวก็อาจจะเป็นคล้ายสมุดหน้า เหลืองของบ้านเราเป็นได้ครับ เช่นเว็บ http://www.dmoz.org เป็นตัวอย่างของเว็บไดเร็กทอรีที่ได้รับความนิยมสูง อีกเว็บหนึ่ง 3. แบบอ้างอิงคำในแท็ก Meat Search Engine ว่ากันว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ไม่มีเครื่อง Server สำหรับเก็บข้อมูลโดยตรง ไม่ได้หมายถึงเครื่องที่ทำเป็น Web server?นะครับ แต่จะอาศัยข้อมูลจากเว็บ Search Engine ประเภทอื่นๆ?เวลาทำงานก็จะทำการจดจำ Keyword:?คำสืบค้น?ที่อยู่ในชุดคำสั่ง Tag Meta?ของหน้าเอกสาร HTML หรือเว็บเพจที่อยู่บนอินเทอร์?นำมาประมวลผลร่วมกัน ตัวอย่างเว็บ Search Engine ครับwww.metacrawler.com?ทิ้งท้ายเรามาดูกันครับว่าในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ Search?Engine ในปริมาณเท่าใด